เหรียญปั๊มหลวงพ่อพ่วงรุ่นแรก วัดสำมะโรง รุ่นแรก พ.ศ. 2496

05/10/2019 Admin

#อำเภอเมืองเพชรบุรี

#เหรียญปั๊มหลวงพ่อพ่วง วัดสำมะโรง รุ่นแรก พ.ศ. 2496

#วัดสำมะโรง

จดทะเบียนปี พ.ศ. 2484 ประวัติวัดตามที่กล่าวขานกันมาว่าทำไมถึงเรียกว่าสำมะโรง เดิมเรียกว่า สามพันโลง หรือ สามพันโพลงซึ่งมีตำนานเล่าขานด้วยกัน 2 ตำนาน

ตำนานแรก เล่ากันมาว่ามีเรือสำเภามาล่มอยู่ที่หน้าหมู่บ้านจึงทำให้น้ำในเรือมาก เรือไม่สามารถจะแล่นไปได้ จึงได้มาขอยืมไม่โพลงของชาวบ้านนำไปวิดน้ำกล่าวว่าโพลงน้ำในเรือออกได้ถึง 3,000 โพลง ที่ตรงนี้จึงเรียกันว่า สามพันโพลง แล้วเรียกเพี้ยนมาเป็น สำมะโรงจนถึงปัจจุบันนี้

ป้ายวัดสำมะโรง

ป้ายวัดสำมะโรง

ตำนานที่ 2 เล่ากันว่า มีพี่น้องอยู่ สองคนแย่งชิงสมบัติกันเนื่องด้วยมารดาที่ตายไปแล้วยังไม่ได้แบ่งสมบัติไว้ ทำให้พี่น้องเกิดแย่งชิงสมบัติกันจนมีคนแนะนำให้พนันกันโดยแบ่งนาคนละครึ่งและทำลูกคันกันตรงกลางใครสามารถโพลงน้ำเข้าเต็มนาก่อนจะได้ที่ดินนั้นไป สองพี่น้องต่างโพลงน้ำเข้านาเพื่อต้องการที่ดินแปลงนี้ แต่ผลสรุปว่าทั้งสองโพลงน้ำเข้านาได้เต็มพร้อมกันและจำนวนที่โพลงได้คนละ 1,500 โพลง เท่ากัน รวมได้ 3,000 โพลง ประธานในที่นั้นจึงตัดสินว่าขอยกที่ดินนี้สร้างวัด เพื่ออุทิศให้กับบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งสองพี่น้องเห็นด้วยและสร้างวัดให้มีชื่อว่า วัดสามพันโพลงและเรียกเพี้ยนกันเรื่อยมาจนเป็นสำมะโรง

ถ้าจะกล่าวว่าวัดสำมะโรงได้สันนิฐานกันว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เดิมวัดสำมะโรงไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งวัดในปัจจุบันแต่วัดจริงตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300 เมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ โดยชาวบ้านเรียกกันว่าเกาะกลางหรือเกาะร้าง เล่ากันว่าครั้งพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแต่แล้วนั้นทหารพม่าได้เผาวัดวาอารามทิ้งเผาบ้านเรือนหลังสงครามสงบลงบ้านสำมะโรงหรือบ้านสามพันโพลง ก็มีคนเข้ามาอาศัยเข้ามาตั้งรกรากอาศัยทำมาหากินผู้คนอยู่เย็นเป็นสุขก็มีคนคิดริเริ่ม จะซ่อมแซมวัดสามพันโพลง ปัจจุบันวัดสำมะโรงได้รับการบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไปมาแต่ก็ยังคงโบราณสถานที่เก่าแก่เอาไว้บ้างบางส่วนเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัดสำมะโรงนี้ก็คือเมื่อเข้ามาในวัดนี้จะสะดุดตาพุทธวิหารมากที่สุดซึ่งทำจากไม้สักทั้งหลัง แกะสลักทั้งหลังโดยใช้ช่างจากอยุธยา ที่วัดแห่งนี้จะมีประเพณีทำบุญรอบวัดประจำหมู่บ้านซึ่งจะทำก่อนสงกรานต์สิ้นสุดวันที่ 12 เมษายน ของทุกปี

ศาลาการเปรียญวัดสำมะโรง

ศาลาการเปรียญวัดสำมะโรง

#พระอธิการพ่วง อิสฺสริโก นามสกุล สังข์สุข เกิดเมื่อวัดพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2418 ณ บ้านนาทอง ตำบลนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทจนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาพรมรูปที่ 5 ต่อมาได้ลาสิขาออกมาครองเพศฆราวาส แต่ระยะเวลาไม่นานนักท่านก็กลับเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง ณ พัทธสีมาวัดนาพรม ขณะนั้นท่านมีอายุ 60 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ 2479 โดยมีพระครูปญญกรวิโรจน์ (รุ่ง) วัดโพธิ์พระใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูมน วัดนาพรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหวล วัดประดิษฐวนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออยู่ในสมณเพศแล้วท่านได้มาจำพรรษาที่วัดสำมะโรงและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสำมะโรง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2480

ในหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2500 กล่าวว่า หลวงพ่อพ่วงได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2599 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษา 22

#หลวงพ่อพ่วงได้สร้างเหรียญรูปเหมือนตัวท่านขึ้นเพียงรุ่นเดียว ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมรูปหลวงพ่อพ่วงครึ่งองค์ ด้านล่างระบุชื่อ “หลวงพ่อพ่วง วัดสำมะโลง” ด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห ด้านล่างมีระบุ พ.ศ. “๒๔๙๖”

#จัดสร้างเพียงเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ

Leave Comment
ค้นหา
close(x)
close(x)
close(x)