ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นวัดที่ชาวมอญเมื่อครั้งอพยพหนีภัยสงครามมาจากทางใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบัน แล้วนำเอาพระพุทธรูป
หลวงพ่อขนมต้ม มาด้วย มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บางลำภู และ ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวัดบางลำภูขึ้น โดยปัจจุบันมี พระครูโสภิตวัชรกิจ (หลวงพ่อสงวน) เจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม เป็นเจ้าอาวาส
หลวงพ่อขนมต้ม องค์จริง
ต่อมาเมื่อมีผู้ศรัทธามากขึ้น ก็จึงได้ร่วมกันสร้างองค์พระองค์ใหม่ขึ้น
ส่วนเหตุผลที่มีชาวบ้านนับถือและศรัทธากันมาก อาจจะเป็นเพราะ ชาวบ้านเหล่านั้นเกิดความศรัทธาจากที่ตนได้บนบานสานกล่าวกับหลวงพ่อขนมต้มไว้ และประสบความสำเร็จดั่งที่ขอ ซึ่งก็เป็นที่กล่าวขานกันมากมายจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อขนมต้น วัดบางลำภู
จากนั้นเหล่าชาวบ้านและผู้ศรัทธาจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๙ นิ้ว สูง ๑๓ ศอก ๙ นิ้วขึ้น สร้างมาจากทองเหลืองหนัก ๑๐ ตัน เศียรหล่อด้วยทองคำแท้หนัก ๓๐๐ บาท และพระหัตถ์ หล่อด้วยทองคำแท้หนัก ๙๐ บาท โดยประดิษฐ์อยู่ที่วัดบางลำภู ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในปัจจุบัน
โดยทำพิธีเททองหล่อในวันวิสาขบูชา ตรงกับวันอังคาร ที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) แล้วเสร็จ จึงเชิญมาประดิษฐานที่วัดบางลำภู ในวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันอังคาร ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ (แรม ๒ ค่ำ เดือน ๙) ซึ่งทางวัดมีความประสงค์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอีกด้วย
ประวัติสะพานมอญ วัดบางลำภู
สะพานมอญ วัดบางลำภู
สร้างขึ้นเมื่อปี 2527 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เกิดขึ้นได้จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านบางลำภูและพระสงฆ์วัดบางลำภู สร้างขึ้นเพื่อเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเพชรบุรีให้ชาวบ้านและประชาชนได้สัญจรไปมาสะดวก ได้ปิดการใช้งานลงเมื่อปี 2552 เพราะได้สร้างสะพานใหม่ขึ้นมา ลักษณะของสะพานจะมีอักษรภาษามอญเขียนไว้ที่ป้ายสะพาน คู่ควรแก่การอนุรักษ์ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ดูสืบต่อไป