วัดคุ้งตำหนัก

21/02/2020 Admin

ประวัติคุ้งตำหนัก อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ที่มีน้ำทะเลท่วมถึง เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ชายเลนประเภท ลำพู ตะบูน แสม โกงกาง กอจาก อีกทั้งมีอาหารทะเลครบครัน โดยเฉพาะกุ้งแม่น้ำมีชุกชุมมาก เนื่องจากเป็นน้ำกร่อย

ครอบครัวคนมอญกลุ่มแรกๆ มีสกุล ละโว้ สมิงนราเรืองพก ขาวสว่าง เป็นต้น คนมอญได้ตั้งวัดขึ้นกลางชุมชน ชื่อ “วัดบางด้วน” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คุ้งตำหนัก” ด้วยเหตุผลที่มีพระมหากษัตริย์ “พระเจ้าเสือ” เสด็จทางเรือผ่านมาตามลำน้ำเพชรบุรี และได้ทรงเบ็ดปลากระโห้ ผู้คนในแถบนั้นจึงเรียกว่า “องค์พระทรงปลา” อีกทั้งมีตำหนักให้เสด็จพักผ่อน สุนทรภู่ กวีเอกรัตนโกสินทร์ ได้เขียนนิราศเมืองเพชร พรรณนาย้อนอดีตเมื่อครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ถึงสถานที่แห่งนี้ว่า

จนออกช่องคลองบางตะบูนใหญ่ ล้วนป่าไม้ตีนเป็ดเสม็ดแสม

นกกะรางยางกรอกกระรอกกระแต เสียงซ้อแซ้สองข้างทางกันดาร

ถึงที่วังตั้งประทับรับเสด็จ มาทรงเบ็ดปลากระโห้ไม่สังหาร

ให้ปล่อยไปในทะเลเอาเพดาน แต่โบราณเรียกว่า องค์พระทรงปลา

แต่เดี๋ยวนี้ที่วังก็รั้งร้าง เป็นรอยทางทุบปราบราบรุกขา

ยังแลเลี่ยนเตียนดีที่พลับพลา นึกระอาอนิจจังไม่ยั่งยืน

เดิมเป็นป่ามาเป็นวังตั้งประทับ แล้วก็กลับไปเป็นป่าไม่ฝ่าฝืน

เหมือนมียศลดลงไม่คงคืน นึกสะอื้นอายใจมาในเรือ

คุณลุงสนม (สรศักดิ์ สุจริตลักษณ์) ในวัย 64 ปี ท่องคำกลอนข้างต้นประหนึ่งว่าอยู่ในเหตุการณ์ เหมือนเมื่อครั้งสุนทรภู่ได้ประสบพบเห็น ทั้งยังอธิบายเสริมอีกว่า ในครั้งกระโน้นพระเจ้าเสือเสด็จทางเรือมาทางคลองยี่สาร คลองวัด คลองโคน คลองช่อง คลองสุนัขหอน คลองโคกขาม คลองลัด มาออกปากทางบางตะบูน พลางขยับถึงบทนิราศของสุนทรภู่ อีกว่า

ข้ามยี่สารบ้านสองพี่น้องแล้ว ค่อยคล่องแคล่วเข้าชะวากปากตะบูน

คุณลุงสนม ยังอ้างถึง คุณลุงสนิท คู่แฝดของตนว่า “เกิดที่คุ้งตำหนักนี่แหละ อยู่ด้านบางตะบูนออก” หมายถึง หมู่บ้านคุ้งตำหนัก อยู่ทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชร ที่จริงมีอีกหลายหมู่บ้านในตำบลนี้ เช่น บ้านแสมชาย บ้านเขาตะเครา บ้านสามแพรก เป็นต้น ซึ่งก็มีคนมอญอยู่ปะปนทั่วไป แต่ไม่หนาแน่นเท่าบ้านคุ้งตำหนัก ปัจจุบัน มีราว 80 หลังคาเรือน ล้วนเป็นคนไทยเชื้อสายมอญทั้งหมด แต่ก็มีบางรายแทรกเข้ามาเป็นเขย เป็นสะใภ้อยู่บ้าง แต่ทั้งหมดก็ยังดำรงชีพและปฏิบัติตามประเพณีพิธีกรรมของบรรพชนคนมอญอยู่เช่นเดิม เป็นต้นว่า การบูชาเซ่นสรวงผีมอญ ลอยกระทง ปั้นหุ่นใส่ในเรือสำเภา พร้อมผลไม้ เงินทอง ทำพิธีไล่โรคห่า สะเดาะเคราะห์ แล้วปล่อยเรือสำเภาไป

วัดคุ้งตำหนักจึงเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณชมชุนชาวมอญ มีชื่อเกี่ยวกับวังน้ำวนจนหลายคนร่ำลือกัน ว่าเป็นถิ่นฐานของจระเข้ชุกชุม เล่ากันว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณนี้เคยมีพลับพลาหรือตำหนักพระเจ้าเสือ
ซึ่งพระองค์เสด็จฯ มาประทับทรงเบ็ด เล่ากันอีกต่อไปว่าบริเวณดังกล่าวมีปลาชุกชุมมาก ดังบันทึกของท่านสุนทรภู่เมื่อครั้งนั่งเรือผ่านบางตะบูนได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“ถึงที่วังตั้งประทับรับเสด็จ มาทรงเบ็ดปลากระโห้ไม่สังหาร ให้ปล่อยไปในทะเลเอาเพดาน แต่โบราณเรียกว่าองค์พระทรงปลา แต่เดี๋ยวนี้ที่วังก็รั้งร้าง
เป็นรอยทางทุบปราบราบรุกขา ยังแลเลี่ยนเตียนดีที่พลับพลา นึกระอาอนิจจังไม่ยั่งยืน เดิมเป็นป่ามาเป็นวังตั้งประทับ แล้วก็กลับไปเป็นป่าไม่ฝ่าฝืน เหมือนมียศลดลงไม่คงคืน
นึกสะอื้นอายใจมาในเรือ”

บริเวณโดยรอบวัดคุ้งตำหนัก ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพปลูกป่าโกงกาง เผาถ่าน รับจ้างทั่วไป
และบางส่วนประกอบอาชีพด้านประมงและสัตว์น้ำ เกร็ดความรู้เรื่อง ชาวมอญในเพชรบุรี ชาวมอญในจังหวัดเพชรบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ 2 แห่ง คือ บ้านบางลำภู (หมู่ 3)
ตำบลบางครก และบ้านคุ้งตำหนัก(หมู่ 7) ตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี ชาวมอญในจังหวัดเพชรบุรีอพยพมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตรงกับแผ่นดินของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีจำนวนประมาณ 40,000 คน

ประวัติหลวงพ่อเบอ วัดคุ้งตำหนัก คลิ๊กเลย

Leave Comment
ค้นหา
close(x)
close(x)
close(x)