เหรียญพระครูสุนทรวชิรเวท (หลวงพ่อจ่าง อเชยโย) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พ.ศ. 2513

05/10/2019 Admin

#อำเภอท่ายาง

เหรียญพระครูสุนทรวชิรเวท (หลวงพ่อจ่าง อเชยโย) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปี 2513
#พระครูสุนทรวชิรเวท (หลวงพ่อจ่าง อเชยโย) วัดเขื่อนเพชร(โค้งข่อย) อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ท่านเกิดในสกุล เปี่ยมศรี เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2449 ปีวอก (แต่ดูตามปฏิทิน 100 ปีแล้ว ปีวอกตรงกับวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2451โยมพ่อชื่อ หร่ำ เป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี โยมแม่ชื่อ ส่วน เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี มีอาชีพทำขนมจีนขาย โยมพ่อเอาไปฝากเรียน ก.ข. โดยยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อวัดชีอินทร์ หลวงพ่อจ่างท่านบอกว่า หลวงพ่อวัดชีอินทร์นี้เก่งทางหมอ เรียนอยู่ 1 ปีก็กลับมาอยู่วัดท่าคอยเรียนภาษาไทย-ขอมกับหลวงพ่อฉิม (หลวงพ่อฉิมนี่หลวงพ่อจ่างเล่าว่าเก่งทางตะกรุด ยิงไม่ออก) เรียนภาษาไทย-ขอมกับหลวงพ่อฉิมอยู่ 3-4 ปี ก็ได้บวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงพ่อฉิมอีก 1 ปี พอปีที่ 2 ก็ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อเจิม วัดกุฏีทองที่จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนนักธรรม ด้วยว่ามีปู่ ย่า พร้อมญาติทางพ่ออยู่ที่นั่นและต้องการได้ใส่บาตรกับท่าน เรียนอยู่กับหลวงพ่อเจิม 1 ปีสอบนักธรรมตรีได้แล้ว จึงกลับมาอยู่ที่วัดท่าคอยกับหลวงพ่อฉิม จนกระทั่งพ.ศ. 2471 อายุครบ 20 ปีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่โบสถ์ วัดท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยมีหลวงพ่อฉิม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหอม วัดอินจำปาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโต๊ะ วัดท่อเจริญธรรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อเชยฺโย บวชแล้วอยู่จำพรรษากับหลวงพ่อฉิมที่วัดท่าคอย 1 พรรษา พอพรรษาที่ 2 ได้ไปอยู่สุพรรณกับหลวงพ่อเจิมร่ำเรียนกรรมฐานและให้ญาติพี่น้องทางฝั่งพ่อได้ใส่บาตร 1 พรรษา แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดท่าคอยศึกษากรรมฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อฉิมเรื่อยมา ท่านมีสมณศักดิ์ที่ “พระครูสุนทรวชิรเวช” ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอท่ายาง หลวงปู่ท่านเป็นพระรัตตัญญู เป็นพระสุปฏิปันโณผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมุติที่อาวุโสที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อจ่าง ท่านเป็นได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมและกรรมฐานจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นกันหลายรูป ดังนี้
1. หลวงพ่อฉิม วัดท่าคอย ( พระอุปัชฌาย์ ) ได้ถ่ายทอดวิปัสสนากรรมฐานรวมทั้งวิชาอาคมทางด้านคงกระพันชาตรี ตะกรุดสาริกา ลูกอม และตะกรุดโทน
2. หลวงปู่ทองสุข วัดโตนดหลวง ได้ถ่ายทอดวิทยาคมทางด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด ยันต์นะปัดตลอดและวิปัสสนากรรมฐาน
3. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ได้ถ่ายทอดวิชาตะกรุดพิสมร และวิชาคงพันชาตรี
4. หลวงพ่อผิน วัดโพธิ์กรุ ได้ถ่ายทอดวิชาคงกระพันชาตรี
5. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ได้ถ่ายทอดวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคม
6 .หลวงพ่อโต๊ะ วัดท่อเจริญธรรม ( พระกรรมวาจารจารย์ ) ได้ถ่ายทอดวิชาทางด้านเมตตามหานิยม
7. หลวงพ่อเจิม วัดกุฎิทอง ได้ถ่ายทอดวิชาทางด้านเมตตามหานิยม
นอกจากครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์แล้ว ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่เป็นคฤัสถ์ อีกหลายท่าน อาทิเช่น อาจารย์ต่อ อาจารย์นิยมเป็นต้น หลวงพ่อจ่าง ท่านมีสหธรรมมิกและได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคม ความรู้ ไปมาหาสู่กันหลายรูป อาทิเช่นหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง หลวงพ่อเทพ วัดถ้ำรงค์ หลวงพ่อพาน วัดโป่งกระสังข์ หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เป็นต้น ดังนั้นในด้านวิทยาคม หลวงพ่อจ่าง ถือว่ามีดีไม่แพ้ใคร หลวงพ่อจ่าง มรณภาพเมื่ออายุได้ 94 ปี พ.ศ.2545 ปัจจุบันทางวัดยังเก็บสังขารของท่านอยู่เพราะไม่เน่าเปื่อย หลวงปู่ท่านเป็นพระหมอที่มีชื่อเสียงมากในอดีต วัดเขื่อนเพชรนี้ประชาชนแถบท่ายาง ชะอำ และบ้านลาด ขณะนั้นยังไม่มีโรงพยาบาล จึงนิยมมาหาท่าน ประกอบกับการเดินทางเข้าเมืองเพชรบุรีไม่สะดวก ทำให้วัดเขื่อนเพชรเป็นโรงพยาบาลย่อยๆ โดยเฉพาะการรักษาโรคกระดูกหัก กระดูกแตก ท่านเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
#หลวงพ่อมรณภาพวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2545 เวลา 17.30น. สิริอายุ 94 ปี 74 พรรษา
#สำหรับเหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2513 ด้านหน้าเป็นองค์พระประธาน หลังรูปเป็นเหมือนหลวงปูจ่างครึ่งองค์ สร้างจากเนื้อทองที่เหลือจากการเททองสร้างองค์พระประธานวัดเขื่อนเพชร มีอักษรจารึกด้านหน้า “ ในงานฉลองพระประธาน วัดโค้งข่อย”ด้านล่างเป็น พ.ศ.2513 สำหรับด้านหลังเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จ่างหน้าหนุ่มจารึกอักษรว่า “พระครูสุนทรวชิรเวท” เป็นเนื้อกระไหล่ทอง

Leave Comment
ค้นหา
close(x)
close(x)
close(x)