การอุปสมบท หมายถึง การบวชเป็นพระ ซึ่งในพุทธบัญญัติท่านกำหนดไว้ว่า ผู้บวชจะต้องมีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป และจะต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ การประกอบพิธีกรรมนี้ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า จะต้องกระทำภายในพระอุโบสถหรือในโบสถ์เท่านั้น ทั้งนี้ประกอบด้วยหมู่คณะสงฆ์ จำนวน ๒๘ รูป มีพระอุปัชฌาย์ ๑ พระกรรมวาจาจารย์ ๑ และพระอนุสาวนาจารย์ ๑ (เรียกว่าพระคู่สวด) อีก ๒๕ รุป เรียกว่าพระอันดับ (มีเพียง ๑๐ รูปขึ้นไป ไม่ถึง ๒๕ รูปก็ใช้ได้)
บรรพชาอุปสมบทที่ใช้ในประเทศไทยสมัยปัจจุบันมีใช้อยู่ ๒ แบบ คือ แบบอุกาสะ(แบบมหานิกาย) และแบบเอสาหัง(แบบธรรมยุต)
การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่าง ที่เรียกว่าบริขาร 8 ( ผ้าหลัก 4 ผืน คือสบง จีวร สังฆาฏิ ประคดคาดเอว , เหล็ก 3 คือ บาตร มีดโกน เข็ม , น้ำ 1 คือธมกรก ) จึงจะสามารถบวชได้ โดยปกติ ในพิธีกรรม จะนำเฉพาะบาตร กับ ผ้าจีวร เข้าไปเท่านั้น เริ่มต้นจาก สามเณรสะพายบาตรเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท
จากนั้น พระคู่สวด การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เช่น ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีหนี้สินติดตัว
การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวด กับ ผู้ที่ขอบวชเป็นพระภิกษุ ในเบื้องต้น ว่า หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบตามความเป็นจริง ท่ามกลางคณะสงฆ์ที่เป็นสักขีพยาน จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยพระคู่สวด พระอุปัชฌาย์ขอมติคณะสงฆ์ ยืนยัน การเข้ารับสู่หมู่คณะ จากนั้น สามเณรยกตัวเองขึ้นเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง
อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ ซึ่งมีข้อบังคับไว้ว่าจะต้องบอกอนุศาสน์แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ จะไม่บอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่ต้องรู้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้ เพื่อมิให้ทำผิดพลาดด้วยไม่รู้มาก่อน อนุศาสน์มีเนื้อความกล่าวถึง นิสสัย (สิ่งที่พระภิกษุทำได้) และ อกรณียกิจ (สิ่งที่พระไม่ควรทำ) คือ
1. เที่ยวบิณฑบาต เป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ
2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ผ้าบังสุกุล คือ เศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อย ที่เขาทิ้ง มาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม แต่ในปัจจุบัน ภิกษุสามารถใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้
3. อยู่โคนต้นไม้ ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาต้อง สละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน ภายหลังมี ผู้เลื่อมใส สร้างวัดถวาย ปัจจุบัน จึงมี วัดและอาราม เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ
4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไป ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อจะได้รักษาร่างกาย ยามเจ็บป่วย
ส่วนกิจที่พระภิกษุทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ มี 4 ข้อ ดังนี้
1. เสพเมถุน พระภิกษุมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
2. ลักขโมย ภิกษุลักทรัพย์มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
3. ฆ่ามนุษย์ ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ฯลฯ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ
4. พูดอวดคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี เพื่อต้องการให้คนอื่นนับถือศรัทธา โดยหวังลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออื่นใดก็ตาม ขาดจากความเป็นภิกษุ
การบอกอนุศาสน์ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเป็นพุทธบุตร อนุศาสน์ทั้ง 8 ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุใหม่รับ “อามะ ภันเต”
กรวดน้ำหลังจากพิธีบวชพระเสร็จ